top of page

อาคารที่พักอุบาสิกา วัดป่าวชิรบรรพต

WOMEN’S DORMITORY & MEDITATION BUILDING, Wat Pa Wachirabanpot

เจ้าของ : วัดป่าวชิรบรรพต

ที่ตั้ง : วัดป่าวชิรบรรพต ต.หนองข้างคอก อ.เมือง จ.ชลบุรี

สถานะ : เสร็จสมบูรณ์

ปี : 2561

พื้นที่ : 12,000 ตร.ม.

สถาปนิก : สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ Walllasia,.ltd 

ที่ปรึกษาด้านสถาปัตยกรรม : ขยาย นุ้ยจันทร์ Walllasia,.ltd 

ทีมงานสถาปนิก :

พนมพร พรมแปง, Charlotte Matias, คุณากร วังขนาย, ภูริส กัญจนา

ปรับผังบริเวณ : นัฐพล  นิ่มละมัย, วรวิต สายแก้ว

วิศวกรโครงสร้าง : สุนทร เกียรติคงศักดิ์, พชรธร คำพิมูล

ผู้รับเหมาก่อสร้าง : พงษ์พันธ์ งามวงศ์น้อย

ช่างภาพ : Spaceshift Studio / ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน

Client : Wat Pa Watchira Banpot

Location : Wat Pa Watchira Banpot, Chonburi Province, Thailand

Status : Completed

Year : 2018

Project Area : 12,000 sqm.

Architect : Suriya Umpansiriratana Walllasia,.ltd 

Advisor (Architecture) : Kyai  Nuichan Walllasia,.ltd 

Project Teams :

Panomporn  Prompang, Charlotte Matias, Kunakorn Wangkanai, Phuris Kanjana

On-site Manager : Nuttapon Nimlamai, Worawit Saikaew

Structural Engineer :

Soontorn Kietkongsak, Pacharathorn Kampimol

Manufacturers : Pongpan  Ngamwongnoi

Photographer : Spaceshift Studio / Pirak  Anurakyawachon

ตั้งอยู่ท่ามกลางภูเขาโอบล้อมด้วยธรรมชาติที่สมบูรณ์ ในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่ายแต่มองเห็นได้ยาก อาคารหลังนี้เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง ทำหน้าที่เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม และที่พักสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมหญิง เป็นอาคารคอนกรีตสูง 4 ชั้น มีห้องพัก 100 ห้อง โดยการวางผังคำนึงถึงการรักษาทัศนียภาพไม่บดบังภูเขา อาคารวางในแนวยาวและบิดตัวเพื่อเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติได้ชัดเจนจากทุกห้อง บริเวณด้านหน้ามีบ่อน้ำขนาดใหญ่เป็นที่รองรับและพักน้ำจากภูเขาเพื่อใช้ประโยชน์ภายในวัด อีกทั้งยังช่วย สร้างภูมิทัศน์ที่ส่งเสริมให้ตัวอาคารดูสง่ามากขึ้น และยังแบ่งกั้นความเป็นส่วนตัว เพื่อสร้างความสงบให้แก่ผู้ปฏิบัติธรรม ทั้งนี้ดินจากการขุดบ่อได้ถูกนำมาใช้ปรับพื้นที่ เพื่อก่อสร้างอาคารหลังนี้อีกด้วย

 

ภายในอาคารเน้นความโปร่งโล่งสบาย มีทางเดินยาวที่มีช่องแสงและช่องลมขนาบอยู่ ทั้งสองข้างและบนล่างในบางจุด รวมถึงระเบียงที่พักขนาดแตกต่างกันอยู่เป็นระยะๆ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากจังหวะของบทสวด และการกำหนดลมหายใจเพื่อการระลึกรู้อย่างมีสมาธิและสติ

 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 (1)

1 2 3 4 5 6 7 8 9 (2)

1 2 3 4 5 6 7 8 9 (3)

(หมายเหตุ   1-9 หมายถึงการนับเพื่อฝึกสมาธิ

                (1) / (2) / (3) / …. หมายถึงการนับเพื่อฝึกสติ)

 

บริเวณดาดฟ้าเป็นลานโล่งขนาดใหญ่ มีน้ำล้อมรอบเสมือนราวกันตกท่ามกลาง ภูมิทัศน์ที่เป็นธรรมชาติ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก แต่ต้องเข้ามาสัมผัสเพื่อการรับรู้ได้เฉพาะตน ทางเดินอิฐแซมด้วยหญ้าถูกจัดเรียงในรูปแบบผังวัดโบราณ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งตรงกับลวดลายรอยกรีดบนพื้นและเพดานคอนกรีตภายในอาคาร เพื่อเป็นการระลึกและเชื่อมโยงถึงสถาปัตยกรรมไทยในอดีต

 

นอกจากนี้ แนวคิดในการออกแบบยังตั้งอยู่บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีอยู่และความสามารถของทีมช่างก่อสร้าง โดยยึดถือความประหยัดเป็นหลัก ด้วยการแสดงร่องรอยของเทคนิคงานก่อสร้างที่หยาบในส่วนภายนอกที่ตัดกับความละเอียดของพื้นที่ส่วนภายในห้องพัก เปรียบเสมือนกล่องสีขาวที่เสียบเข้าไปในภูเขา อีกทั้งยังมีการเก็บรักษากลุ่มก้อนหินในพื้นที่ไว้ในตำแหน่งเดิม โดยมีสิ่งที่เพิ่มเติมคือ การสร้างบ่อน้ำล้อมรอบก้อนหินเพื่อรองรับน้ำในตำแหน่งที่ตรงกับช่องที่เจาะขึ้นสู่ด้านบน เป็นการรักษาอุณหภูมิภายในอาคาร และยังส่งเสริมให้ก้อนหินมีความโดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากทุกชั้นอีกด้วย

สถาปนิกมีความเชื่อว่า รายละเอียดในงานสถาปัตยกรรมเกิดขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหา ในการก่อสร้าง และรายละเอียดนี้เองคือ 'งานออกแบบ'

The four-storey residence nestled in lovely natural surroundings at Wat Pa Wachirabanpot in Chon Buri isn’t easily seen from afar, but it’s surprisingly easy to get to. It holds a meditation centre and is the residence for the women who come to practise, serving as their second home.

 

Strikingly designed, each of the 100 rooms in the building enjoys breathtaking views of mountains and woodland. The structure is chiefly concrete, but the design is humble enough that it’s anything but an eyesore in this magnificent setting.

         

A large man-made pond in front of the residence is, again, conceived to be multifunctional. It is not only pleasing to the eye and enhances the grandeur of the building, but it’s also a reservoir for the clean water that descends from the hills, useful for drinking and other domestic uses. Plus, it keeps prying eyes at a distance so that no one is disturbed while they’re meditating. The soil excavated for the pond was used to establish the foundation of the residence.

 

The interior is meant to be airy and well ventilated. In the long corridor are ventilation tubes installed above and below.

         

The balconies vary in size, inspired by the rhythms of sermons and the breathing of the meditating participants as they strive to achieve mindfulness. They count from one to nine as an exercise in concentration, and count again at the end of each cycle to foster mindfulness.

 

The spacious rooftop is surrounded by water, almost as if to keep the practitioners from falling off.

 

The placidity of this scene can’t be seen from the outside, though – it can only be appreciated from within.

 

The symmetric open-air corridor is paved with bricks in a pattern borrowed from a venerable temple, in a tribute to ancient Thai architecture.

 

The working team tapped its members’ expertise and kept watch on the budget. These were priorities, but so too was “the existence of things”. All these factors are reflected in the rough exterior surface and the meticulous interior design of the rooms.

 

From a distance, the building is like a white box inserted into the mountain. It was in fact designed so that the rocks stayed in their original places surrounded by the pond – in the middle of the structure – to keep the temperature inside mild and enhances the rocks’ stoic presence where they can be viewed from every level through the skylight box.

bottom of page