อุ้ยแจม
OUI J'AIME
เจ้าของ : ตั้ง เซ่ง จั้ว
ที่ตั้ง : ต.โสธร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
สถานะ : เสร็จสมบูรณ์
ปี : 2561
พื้นที่ : 586 ตร.ม.
สถาปนิก : สุริยะ อัมพันศิริรัตน์, ขยาย นุ้ยจันทร์ Walllasia,.ltd
ทีมงานสถาปนิก : ปรีณาพร แสงศรี, พนมพร พรมแปง
ออกแบบและจัดทำภูมิทัศน์ :
สุริยะ อัมพันศิริรัตน์, ประวิทย์ พูลกำลัง Walllasia,.ltd
อินทีเรีย ดีไซน์ : วิชชาธร ประเสริฐสุข บริษัท สตอเรจ สตูดิโอ จํากัด
กราฟฟิค ดีไซน์เนอร์ : ชาญชัย บริบูรณ์
วิศวกรโครงสร้าง : วิทยา บุญสุข
ผู้รับเหมาก่อสร้าง : บริษัท สามพัฒนาก่อสร้าง จำกัด (สถาปัตยกรรม), บริษัท มิลเลี่ยน เอ็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (ตกแต่งภายใน)
ภาพถ่าย : Spaceshift Studio / ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน
Client : Tang Seng Jua
Location : Muang, Chachoengsao Province, Thailand
Status : Completed
Year : 2018
Project Area : 586 sqm.
Architect : Suriya Umpansiriratana, Kyai Nuichan Walllasia,.ltd
Project Teams : Preenaporn Sangsri, Panomporn Prompang
Landscape Design and Built :
Suriya Umpansiriratana, Prawit Poolkumlung Walllasia,.ltd.
Interior Design :
Storage Studio Co.,Ltd. By Witchathorn Prasertsuk
Graphic Designer : Chanchai Boriboon
Structure Engineer : Wittaya Boonsuk
Manufacturers :
Sampattana construction co,.ltd. (building),
Million x group co.,ltd (interior)
Photographer : Spaceshift Studio / Pirak Anurakyawachon
โรงแรม + ร้านขนมเปี๊ยะ ตั้งเซ่งจั๊ว เจ้าแห่งตำนานขนมเปี๊ยะเก่าแก่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สร้างจากแนวความคิดที่เกิดจากข้อจำกัดในเรื่องของขนาดและทิศทางของที่ดิน ทำให้อาคารหลังนี้มีรูปทรงผอมเพรียว โดดเด่นด้วยโครงสร้างเหล็กที่ดูขึงขัง แต่คงไว้ซึ่งความละเอียดอ่อนด้วยวัสดุบนผนัง (Facade) ที่ทำจากเหล็กเจาะรู เต็มไปด้วยสนิมบนพื้นผิวที่เกิดขึ้นตามกาลเวลา เปรียบเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่เมื่อคนเดินผ่านจะเห็นเป็นเส้นสายการเคลื่อนไหว อีกทั้งยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับทางเดิน โดยในเวลากลางวันผนังนี้จะช่วยกรองแสง และสร้างลวดลายของเงาซึ่งตกกระทบลงบนพื้น ส่วนในเวลากลางคืน ทั้งผนังจะดูคล้ายโคมไฟขนาดใหญ่ส่องสว่างอยู่ริมถนน
นอกจากนี้สถาปนิกยังได้สร้างประโยชน์จากสิ่งที่มักถูกมองข้าม โดยเชื่อมโยงไปสู่ การแก้ปัญหาและการสร้างพื้นที่ใหม่ๆด้วยแนวความคิดที่ว่า การออกแบบสิ่งหนึ่งควรสามารถทำหน้าที่ได้ประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยให้น้ำแอร์หยดลงในบ่อน้ำเหล็กหน้าห้องพักรวมและห้องอเนกประสงค์ ซึ่งเมื่อมองจากภายในห้องจะเห็นเป็นพื้นผิวน้ำขนาดใหญ่ท่ามกลางต้นพะยูงบริเวณหน้าด้านอาคารตลอดแนว สร้างความเป็นส่วนตัวจากถนน อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นกันสาดให้กับพื้นที่บริเวณด้านล่าง
เมื่อเข้าสู่ภายในอาคาร สถาปนิกได้ทำลายความคาดหวัง โดยสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ละทิ้งเรื่องของขนาด ไม่มีเล็ก ไม่มีใหญ่ ผ่านลำดับขั้นตอนการเข้าถึงของห้องพัก
ที่มีการจัดวางให้มีต้นไม้เสมือนสวนส่วนตัว และจุดนั่งพักผ่อนก่อนที่จะแยกเข้าสู่ห้องนอนหรือห้องน้ำ นอกจากนี้รายละเอียดงานเหล็กทั้งในส่วนโครงสร้างและงานตกแต่งยังได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถัน ด้วยแนวคิดเพื่อการเพิ่มพื้นที่ในสมอง ผสมผสานกับการตกแต่งในบรรยากาศบ้านไม้เก่ากลิ่นอายแบบจีน ที่มีโทนสีเขียวและแดงสื่อถึง หยก มรดกตกทอดและความเป็นสิริมงคล
The Oui J’aime Hotel is a wholly unique building, the direct result of limitations in space combined with the unusual dimensions of the property.
This new destination for visitors to Chachoengsao is owned and operated by the same family that runs Tang Seng Jua, a famous pastry shop there that sells kanom pia, a Chinese-style treat stuffed with mung-bean paste.
With its metal structure, the narrow and long rectangular building is bold and outstanding, its appearance softened by the facade of rusted metal sheets. The overall effect is almost like that of an art exhibition. The artsy facade doubles as a vast partition maintaining the guests’ privacy and as a sunshade during the day. And, because the large surface reflects streetlights, it adds to the illumination in the neighbourhood as well.
This dual-function approach is always a high priority for Walllasia, at once addressing design issues while maximising space. The concept is reflected in the metal pond in front of the dorm rooms and multipurpose room. Viewed from those rooms, the broad surface of the water adorned with Siamese rosewood offers a calm corner that’s restful for the eyes. Pragmatically, it’s also a reservoir for air-conditioner wastewater and serves as a canopy over the ground floor while helping maintain the privacy of the interior.
Limited space has necessitated a rare rectangular form to the structure, but any disaffection at first glance disappears as you enter the building. There are trees inside that turn the compact spaces in front of the private rooms and bathrooms into personal corners and make the small building seem larger.
Consider the story behind this meticulously planned place, the way its spaces have been utilised. And consider, too, whether good fortune might derive from the green-and-red interior, whose colours come from cherished Chinese tradition.