top of page
  • walllasia

สุริยะได้รับรางวัลศิลปินศิลปาธร สาขาสถาปัตยกรรม ปี '57

Suriya received Sillapathorn Award (2014) : Architecture,

Ministry of Culture, Thailand

และจัดแสดงนิทรรศการเผยแพร่ผลงานในโอกาส 10 ปีศิลปาธร

ระหว่างวันที่ 17 - 27 กรกฎาคม 2557 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน



ทรรศนะของศิลปินศิลปาธร ปี 57 สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ สาขาสถาปัตยกรรม สถาปนิกแถวหน้าในเมืองไทย ได้รับรางวัลมากมายทั้งในและต่างประเทศ ที่สำคัญเขาทำงานออกแบบวัดวาอารามโดยไม่ได้เน้นความวิจิตรงดงามเหมือนวัดทั่วไป แต่ใช้องค์ประกอบธรรมชาติ แสง เงา วัสดุพื้นถิ่นอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่นที่วัดเขาพุทธโคดม อ.ศรีราชา และวัดป่าวชิรบรรพต อ.เมือง จ.ชลบุรี ได้รับรางวัลเหรียญทองสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารประหยัดพลังงาน กล่าวความรู้สึกรางวัลศิลปาธรว่า


“ขอบคุณที่สังคมมองเห็นคุณค่าในโครงการต่างๆ ที่ได้ทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานนับสิบปี รู้สึกดีที่เป็นสิ่งเสริมกำลังใจในการทำงาน แม้ว่าการทำงานศิลปะจะมีอุปสรรคและความยากลำบากมากมาย แต่สิ่งที่ได้กลับมามันคือความสุข


จุดเริ่มต้นคือ การได้สร้างกุฏิให้กับวัดเขาพุทธโคดม ที่หลานชายบวช โดยใช้วัสดุที่หาได้ใกล้ตัว และของเก่ามือสองนำมาปรับใช้อย่างลงตัว จนเกิดกุฏิหลังแรก ในลักษณะงานสถาปัตยกรรมสีเขียว ซึ่งคำนึงถึงภูมิประเทศ คำนึงถึงทางน้ำไหลและไม่เบียดเบียนต้นไม้ หลวงพ่อท่านเห็นถึงประโยชน์ จึงได้ปรึกษาและสร้างกุฏิหลังอื่นๆ โดยอาศัยปัจจัยจากผู้มีจิตศรัทธาทำบุญและถวายให้กับวัด นั่นคือการทำงานศิลปะที่เริ่มต้นด้วยความศรัทธาเป็นที่ตั้ง


งานสร้างกุฏิ เน้นความพอเพียง ความยั่งยืน ซึ่งเป็นมิตรต่อสรรพสิ่งในโลก และเป็นสิ่งที่สถาปัตยกรรมสีเขียวได้ถูกกำหนดไว้เป็นพันๆ ปี ภายใต้หลักปรัชญาพุทธศาสนา งานที่ทำให้กับวัดและศาสนามีความลึกซึ้งกว่างานโดยทั่วไป เป็นการรวม Landscape และงานสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน นอกเหนือจากความงามต้องคำนึงถึงเนื้อหาประเด็นหลัก บางทีเราอาจไม่ต้องใช้ของโบราณ แต่ก็รักษาความสงบไว้ได้เหมือนเดิม


ตอนนี้มีโครงการสร้างอาคารเก็บของและอาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ที่วัดป่าวชิรบรรพต จังหวัดชลบุรี โครงการออกแบบบ้าน “พอดี พอดี” เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางภาคใต้ และออกแบบบ้านเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย”


สุริยะ ศิลปาธรสถาปัตยกรรม ให้แง่คิด


ผมเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วต้องใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และไม่เบียดเบียนกัน สิ่งสำคัญต้องมองหาแรงบันดาลใจให้กับตนเองอยู่เสมอ ผมได้แรงบันดาลใจมหาศาลมากจากต้นไม้ ต้นหญ้าที่งอกงามขึ้นจากก้อนอิฐริมถนน ริมฟุตบาธ ซอกตึก ข้างกำแพงโบสถ์ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่มาช่วยเติมเต็มชีวิตและการทำงานให้กับผม เพราะแรงบันดาลใจมีอยู่ในชีวิตเราทุกคน ทุกๆที่ ทุกๆวัน แต่คุณจะมองเห็นมันหรือเปล่าเท่านั้นเอง



'WALLED MONK'S CELL' Wat Khao Buddhakodom, Sriracha, Chonburi, Thailand

Renowned architect Suriya Umpansiriratana, winner of the Silpathorn Award in 2014 for Architecture, and the holder of other national and international awards, doesn’t just rely on the beauty of structures alone, but on a conscious blend of natural elements, such as light and shadow, and locally-sourced materials. His highly-admired work includes the Walled Monk’s Cell at Wat Khao Buddha Kodom in Sri Racha district and the Women’s Dormitory and Meditation Building at Wat Pa Wachirabanpot in Muang district, both in Chon Buri. The former was awarded a gold medal and the latter a silver medal by the Association of Siamese Architects’ in 2014.


“Thank you for recognizing the values of the projects that I have worked on over the past 10 years. [Being awarded] is a great honor and also gives me great moral support. Despite obstacles and hardships while working in art, it always brings happiness at the end of the day,” said Suriya Umpansiriratana after receiving his awards.


“It all started when I built monk’s cells for Wat Khao Buddha Kodom where my nephew was ordained. Built from locally-sourced or used materials within the community, the first cell became green architecture, where the geography, natural water flow, and locations of the trees were taken into account. The abbot realized the benefits of the structure that respects nature and asked me to build more cells in the temple. The construction budget pours in from donations by faithful followers. Like any art work, it can never be completed without faith from the artist.


“The concept of the Walled Monk’s Cell was based on sufficiency, sustainability and environment-friendliness – the theory of green architecture that has been practiced under Buddhism. Architecture for religious purposes is usually profound because it needs to blend the structure into an old environment. Function is also a priority, apart from the beauty. Most importantly, modern materials have been carefully seclected to maintain serenity and a peaceful atmosphere.


“Currently, I’m working on various projects, which include a large-scale storage and meditation building at Wat Pa Wachirabanpot in Chon Buri, a 'Pordee Pordee' house for flood victims in the South of Thailand, and a new design for earthquake-resistant houses for residents in Chiang Rai, the earthquake-prone area.”


Suriya Umpansiriratana added: “I believe human beings wish to live a happy life and, at the same time, not exploit others. The most important thing in life is to always seek life motivation. I’ve been largely inspired by trees or green grass that grows from under stones on pavements, out of building nooks or the wall of a church. These are the miracles that fulfill my life and work. Life inspiration is with us everywhere and every day, whether you can see it or not.”


0 comments

Comments


bottom of page