ไทนี่ มิวเซียม
Tiny Museum
เจ้าของ : วัดโสมนัสวิหาร
ที่ตั้ง : 646 ถนนกรุงเกษม แขวงโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
สถานะ : เสร็จสมบูรณ์
ปี : 2562
พื้นที่ : 45 ตร.ม.
สถาปนิก : สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ / Walllasia,.ltd
ทีมงานสถาปนิก : ประวิทย์ พูลกำลัง, ศศิประภา รสจันทร์,
ชัชวาล ตุลยนิษก์, ณรงค์ชัย ใจใส, ปรีณาพร แสงศรี,
พนมพร พรมแปง, Charlotte Matias, จิรวัฒน์ พลสามารถ
ออกแบบและจัดทำภูมิทัศน์ : -
อินทีเรีย ดีไซน์ : -
กราฟฟิค ดีไซน์เนอร์ : ชาญชัย บริบูรณ์
ผู้จัดทำงานกราฟฟิค: วันชัย เอื้ออัครวงษ์
วิศวกรโครงสร้าง : -
ผู้รับเหมาก่อสร้าง : Walllasia,.ltd
ภาพถ่าย : Spaceshift Studio / ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน
Client : Wat Somanas Rajavaravihara
Location : 646 Krungkasem Road, Sommanat,
Pom Prap Sattru Phai, Bangkok
Status : Completed
Year : 2019
Project Area : 45 sqm.
Architect : Suriya Umpansiriratana / Walllasia Ltd.
Project Teams : Pravit Poolkumlang, Sasiprapa Roschan, Preenaporn Sangsri, Panomporn Prompang, Narongchai Jaisai, Chatchawal Tullayanit, Charlotte Matias, Jirawat Ponsamart
Landscape Designer and Builder : -
Interior Designer : -
Graphic Designer : Chanchai Boriboon
Graphic Producer : Wanchai Uaakarawong / Thai Frame & Accessories Co.,Ltd.
Structure Engineer : -
Contractor : Walllasia Ltd.
Photographer : Spaceshift Studio / Pirak Anurakyawachon
พิพิธภัณฑ์สีแดงชาดขนาดเล็กจิ๋วร่วมสมัยซึ่งแทรกตัวอยู่ภายในวัดโสมนัสราชวรวิหาร เป็นผลงานการออกแบบของคุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ สถาปนิกศิลปาธรผู้ก่อตั้งบริษัท Walllasia ภายใต้การดูแลของคุณวรรณฤทธ์ ปราโมช ณ อยุธยา มิวเซียมจิ๋วแห่งนี้ทำหน้าที่เก็บรักษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอายุยาวนาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ กเบื้องจาน โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ความยั่งยืน รวมถึงการออกแบบให้มีรูปลักษณ์อาคารที่สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของคนในยุคปัจจุบัน
Tiny museum เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงและเก็บรักษา “กเบื้องจาน” สมบัติอันเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างหนึ่ง ในอดีตกเบื้องจานเปรียบเสมือนหนังสือหรือจดหมายที่สื่อถึงกันโดยการเขียนอักขระลงบนแผ่นดินอัดที่เรียกว่ากเบื้องจาน ถูกขุดค้นพบ โดย ดร.เอช อาร์ แวน เฮเกอเร็น ชาวเนเธอร์แลนด์ที่ถูกจับเป็นเชลยศึกในสมัยสงครามโลก ภายหลังได้มีการตรวจสอบพบว่าวัตถุเหล่านี้น่าจะมีอายุระหว่าง 2,000-20,000 ปี ซึ่งเป็นหลักฐานจากยุคหินใหม่ ต่อมาเจ้าคุณอ่ำหรือพระราชกวีแห่งวัดโสมนัสราชวรวิหาร เกิดความสนใจและได้เก็บรวบรวมไว้เพื่อศึกษาค้นคว้า เมื่อเจ้าคุณอ่ำมรณภาพไป กเบื้องจานจึงถูกย้ายมาอยู่ในความดูแลรักษาของพระสิริปัญญามุนี หรือเจ้าคุณเต็ม เจ้าคณะวัดโสมนัสราชวรวิหาร จนถึงปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ เกิดจากคุณวรรณฤทธ์ ปราโมช ณ อยุธยา “ฐานข้อมูลกเบื้องจาน” ผู้ศึกษาและค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับกเบื้องจานในอุปถัมถ์ของมูลนิธิพระราชกวี (มพอ.) เห็นว่ากเบื้องจานนั้นไม่ได้รับการดูแลและเก็บรักษาไว้ในสภาพที่เหมาะสม จึงคิดจะดูแลรักษาอย่างเหมาะสมพร้อมต่อยอดพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา โดยมีพระสิริปัญญามุนีเป็นบุคคลสำคัญที่สนับสนุนการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ต่อมาเมื่อคุณวรรณฤทธ์ได้พบคุณสุริยะจึงชวนมาร่วมทำโครงการ
แนวคิดในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ คือ ให้พิพิธภัณฑ์เป็นหีบสมบัติที่เก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างกเบื้องจาน จึงออกแบบอาคารให้เป็นเสมือนหีบที่แทรกตัวอยู่ในช่องว่างระหว่างอาคารที่มีอยู่เดิม โดยไม่เปลี่ยนแปลงหรือทำลายตัวอาคารดั้งเดิมซึ่งเป็นอาคารที่ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 และอยู่ภายใต้การควบคุมและอนุรักษ์ของกรมศิลปากร
รายละเอียดงานสถาปัตยกรรม
1. รูปทรงอาคาร
อาคารรูปทรงหลังคาจั่ว 45 องศา เป็นไอเดียจากคุณวรรณฤทธ์ ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากหลังคาวัดรอบๆ บริเวณ ที่มีหลังคาจั่ว 45 องศา ซึ่งเป็นองศาที่ทำให้เกิดสภาวะที่สบายที่สุด นอกจากนี้ ยังกลมกลืนกับอาคารภายในวัดทั้งหมด จึงได้นำปัจจัยนี้มาปรับใช้ในงานออกแบบ
2. สี
สถาปนิกเลือกใช้สีแดงชาดที่เป็นสีเดียวกับประตูและหน้าต่างเดิมภายในวัด และเป็นสีที่ส่งผลให้อาคารพิพิธภัณฑ์นี้มีเอกลักษณ์ที่ชัดเจนโดยไม่ขัดแย้งกับอาคารรอบๆ
3. วัสดุ
เนื่องจากมีอาคารเดิมล้อมรอบอยู่ ทำให้วัสดุที่เหมาะสมในกระบวนการก่อสร้างที่ต้องนำอาคารไปแทรกอยู่ระหว่างอาคารเดิมคือวัสดุเหล็ก ซึ่งจะทำให้กระบวนการนี้รบกวนโครงสร้างอาคารเดิมน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีความแข็งแรงและสามารถยกถอดประกอบได้ นอกจากนี้สถาปนิกยังมองเรื่องของดีไซน์ไปพร้อมๆ กับโครงสร้าง จึงนำเหล็กมาพับตามลักษณะการย่อมุมของสถาปัตยกรรมดังเดิมภายในวัด ทำให้เกิดความสวยงามและยังเป็นวิธีการขึ้นรูปให้เหล็กเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงขึ้นอีกด้วย
คณะผู้จัดทำคาดหวังให้ Tiny museum พิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กร่วมสมัยแทรกตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีต เพื่อเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่กับสมบัติล้ำค่าของชาติ ให้คนรุ่นใหม่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และหวังให้เป็นองค์ความรู้และเป็นแบบอย่างเพื่อปรับใช้กับโครงการของวัดหรือโบราณสถานอื่นด้วยเช่นกัน
Hidden in the grand royal monastery, Wat Somanas Rajavaravihara, stands a miniscule crimson red museum, namely, Tiny Museum. The museum was designed by Suriya Umpansiratana, a Silpathorn-awarded architect and the founder of Walllasia: Architecture & Landscape, under the supervision of Ms. Wannarith Pramoj Na Ayuthya. This museum was constructed to preserve and display ‘Kabuang-Jaan’, one of the precious archeological artefacts from the ancient time. Despite how this tiny museum was designed for the artifacts’ safety and sustainability, its contemporary and attractive appearance was also carefully designed to draw more attention from the younger generations.
“Kabuang-Jaan”, the ancient artefacts preserved and displayed at the museum, are one of the most precious historical archives as they were used as a mean of communication by engraving the letters on their surfaces. These artefacts were discovered by a Dutch archeologist Dr. H.R. Van Heekeren when he was a war prisoner during the Second World War. The objects were later examined and expected to be from the new stone age era (2,000 – 20,000 years ago). The lord abbot of the Somanas Varavihara Temple (Chaokhun Am or Phra Ratchakawi) at the time had then developed the interests in those artefacts and collected them for further research. After he passed away, the artefacts were in the care of Phra Siripanyamuni (Chaokhun Tem), current head of monastery of Wat Somanas Varavihara.
This museum project started when Wannarith Pramoj Na Ayuthya, ‘Kabuang-Jaan’s Database’, a Kabuang-Jaan researcher under the royal patronage of Phra Ratchakawi (Am Thammathatto) Foundation, discovered that Kabuang-Jaan were not preserved in appropriate conditions. Hence, she came up with the preservation plan that extended into a museum project for educational purpose. With major support from Phra Siripanyamuni, the museum project was put into action and later on Suriya was invited to participate in the project as an architect.
The museum was designed with the concept to be a treasure box keeping numerous precious archeological artefacts. Structure of the museum was integrated into the original space without interfering with the existing structure, which was constructed in the reign of Rama IV and currently under the protection and preservation of the Fine Arts Department.
The detail of architecture
1. Form
45-degree gable roof was the idea suggested by Wannarith, designed to blend in with the two buildings surrounding the museum. This 45-degree is also studied to be the angle that gives the most comfortable state.
2. Color
The architect used crimson red, which was the color of the doors and windows in existing buildings. Crimson structure red gave the museum eccentricity yet combined well with the surroundings.
3. Material
The most suitable material for the construction of the museum that needs to integrate itself into the limited space surrounded by the original building was metal. Besides its strength and flexibility, metal parts can as well be separately made and assembled at the construction site which reduced the effects of the construction process on the existing buildings. The architect also used Thai traditional ‘Yaw Moom’ or redented angles technique to reinforce the metal sheets by folding them. This technique also made the museum even more harmoniously blended in with the neighborhood.
The project management team hopes that Tiny Museum, as a small-scale contemporary museum hidden among the great Thai traditional and historical architectures would be able to engage new generations with the national heritages, encourage further studies about such topics as well as being a model and creating know-how for art and cultural project initiatives by other temples or historical sites.